ทฤษฎีเกี่ยวกับสุขภาวะ (Theories of well-being)
พัฒนาการด้านการมีสุขภาวะที่ดี (well-being) มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยยุคกรีกโบราณเพื่อตอบคำถามสำคัญว่า
คนเราเกิดมาทำไม?
แล้วอะไรคือความสุขของการมีชีวิตอยู่?
โดยนักจิตวิทยาสมัยใหม่ได้แบ่งแนวคิดทางปรัชญาเกี่ยวกับสุขภาวะออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
แนวคิดสุขภาวะแบบ เฮโดนิกส์ (hedonic well-being) หรือแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาวะที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในชีวิต (life satisfaction) และ
แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาวะแบบยูไดโนมิกส์ (eudainomic well-being) หรือแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาวะที่ให้ความสำคัญกับความหมายและเป้าหมายในการดำรงชีวิต (meaning and purpose) (Deci & Ryan, 2008)
Lyubomirsky, Sledon, Schkade (2008 อ้างถึงใน The Happiness Hypothesis; Haidt, 2006; ภาษาไทย โตมร สุขปรีชา, 2019) ได้ทำการวิจัยและทบทวนปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสุข พบว่า มีปัจจัยภายนอกสองประเภทที่แตกต่างกันโดยพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยแรก คือ ปัจจัยเงื่อนไขต่างๆในชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือต้องใช้เวลานานในการเปลี่ยนแปลง เช่น เชื้อชาติ เพศ อายุ ความพิการ และปัจจัยที่สองคือกิจกรรมที่ทำโดยสมัครใจ เช่น การนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย การเรียนรู้ทักษะใหม่ การเข้าร่วมในกิจกรรมเชิงบวกต่างๆ (positive activities) โดยเรียกองค์ประกอบเหล่านี้ว่า
สูตรแห่งความสุข อันประกอบไปด้วย H = S + C + V
ระดับความสุขที่ประสบจริง คือ H เท่ากับ ค่าตั้งต้นทางชีววิทยา คือ S บวกกับ เงื่อนไขในชีวิต คือ C บวกกับ กิจกรรมที่ทำโดยสมัครใจ คือ V ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับหลักคำสอนสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้าได้อธิบายถึงความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงหรือกลายเป็นอริยะ อันประกอบไปด้วย ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ (ทุกข์) ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัย) ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ (นิโรธ) และความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์ (มรรค) ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ประการ อันได้แก่
-
สัมมาทิฐิ คือ การเห็นชอบ (Right View)
-
สัมมาสังกัปปะ คือ การดำริชอบ (Right Thought)
-
สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ (Right Speech)
-
สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติชอบ (Right Action)
-
สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ (Right Livelihood)
-
สัมมาวายามะ คือ การเพียรชอบ (Right Effort)
-
สัมมาสติ คือ การตั้งสติชอบ (Right Mindfulness)
-
สัมมาสมาธิ คือ การตั้งมั่นชอบ (Right Concentration) จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของมรรคทั้ง 8 ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้โดยสมัครใจทั้งสิ้น
การทำงานเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ ในมุมมองของจิตวิทยาเชิงบวก (Seligman, 2011) จึงได้มุ่งเน้นการทำงานไปกับสิ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดสุขภาวะ ว่าสิ่งเป็นที่ควรให้ความสำคัญจริง (real thing) มากกว่าการทำงานเพื่อเพิ่มระดับ ความพึงพอใจในชีวิต (life satisfaction) เป็นซึ่งผูกโยงกับเงื่อนไขในการดำรงชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงได้ยากและใช้เวลานาน อีกทั้งการทำงานเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกและการจัดการภายในของผู้คนที่มีต่อสิ่งที่ประสบพบเจอ ซึ่งเป็นการให้ความสนใจ ให้ความสำคัญในการ
สร้างสิ่งที่ดีต่อชีวิตที่เหลืออยู่ แทนที่การซ่อมแซมที่หายไป อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนสามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการดำรงชีวิตในระยะยาวได้
ในปี 2011 หนังสือ เรื่อง ความเจริญงอกงาม (Flourish) ได้ถูกตีพิมพ์ โดย Seligman ได้รวบรวมความรู้และการวิจัยของเขาและนักวิชาการจากทั่วโลกที่ได้พยายามค้นหาคำตอบเกี่ยวกับองค์ประกอบของความเป็นอยู่ที่ดี Seligman ได้สังเคราะห์องค์ประกอบไว้ใน P.E.R.M.A. ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ โดยคัดเลือกจากเกณฑ์ดังนี้ คือ เป็นองค์ประกอบของการก่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี, เป็นสิ่งที่หลายๆคนต้องการผ่านเห็นคุณค่าในองค์ประกอบนั้นๆด้วยตัวเอง และแต่ละข้อให้ความหมายชัดเจนและสามารถวัดได้อย่างอิสระจากองค์ประกอบอื่น ๆ (Seligman 2011, หน้า 28) อันประกอบไปด้วย
P
องค์ประกอบแรกใน PERMA ส่วนใหญ่มาจากการวิจัยของ Barbara Fredrickson เรื่อง “อารมณ์เชิงบวก หรือ Positive Emotions” (2010,2011) แสดงให้เห็นว่าอารมณ์ในเชิงบวกเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเป็นอยู่ที่ดี Fredrickson แสดง 10 อารมณ์เชิงบวกที่แตกต่างกัน ได้แก่ สนุกสนาน รู้สึกขอบคุณซาบซึ้ง รู้สึกสงบ มีแรงบันดาลใจ มีความหวัง รัก รู้สึกเคารพ รู้สึกเพลิดเพลิน มีความตื่นเต้นสนใจ รู้สึกภาคภูมิใจ
E
องค์ประกอบที่สองใน PERMA คือ “ความรู้สึกมีส่วนร่วมในสิ่งที่ทำ (Engagement)” ในการวิจัย Mihaly Csikszentmihalyis ในเรื่อง ความสุขในการเรียนรู้หรือการทำงานแบบลืมวันเวลา (Flow) (2005,2011) เราเรียนรู้ที่ดีที่สุดเมื่อมีความสุขที่มีความรู้และทักษะของเราให้ตรงกับความท้าทายที่เราพบ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมเป็นฐานใน Edward L. Deci และทฤษฎีกำกับตนเองของ Richard M. Ryan (1980,1985,2000) เกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจภายในผ่านการนำตนเอง (Autonomy) ความสามารถ (Competence) และความสัมพันธ์ (relatedness)
R
องค์ประกอบที่สามใน PERMA คือ “ความสัมพันธ์ที่ดี (Positive Relationships)” พัฒนามาจากงานวิจัยของ Christopher Peterson และSeligman เรื่องความสัมพันธ์ระยะยาวของเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน Peterson เป็นที่รู้จักจากงานวิจัยเรื่อง “Other people matter” การวิจัยมุ่งเน้นในเรื่องมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและความสำคัญของความสัมพันธ์ที่ดี นอกจากนี้องค์ประกอบนี้ได้รับการสนับสนุนโดย Roy Baumeiter และ Mark Leary (1995) ที่มีการวิจัยยืนยันสมมติฐานเรื่องความสัมพันธ์ระยะยาว
M
องค์ประกอบที่สี่ใน PERMA คือ “การรับรู้ถึงความหมายของชีวิต หรือสิ่งที่ทำ (Meaning)” ความหมายอยู่ในส่วนที่เกี่ยวกับการวิจัยของ George Vailant (Norrish 2015; Seligman 2011) ที่ระบุว่าความเป็นอยู่ที่ดีเป็นแรงผลักดันโดยการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้มาจากความคิดของเรา ซึ่งมีความแตกต่างกันของการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ ความหมาย และการตัดสินใจและการกระทำ
A
องค์ประกอบที่ห้าใน PERMA คือ “การบรรลุถึงเป้าหมาย (Accomplishment)” ซึ่งมีฐานจากการวิจัยของ Senia Maimin ของ (Seligman 2011) เจาะลึกถึงวิธีการที่เรามุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จ ความสามารถ (performance) สิ่งที่ได้รับ (gain) และการเรียนรู้เพื่อประโยชน์ในชีวิต
ซึ่ง 4 องค์ประกอบแรก (P.E.R.M.) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของทฤษฎี ส่วน การบรรลุถึงเป้าหมาย (Accomplishments) เป็นองค์ประกอบที่ประเมินในรูปแบบของ momentary form อันเกิดจากการให้ความหมายของตนเองต่อสิ่งที่เป็นความสำเร็จในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต
โดยสรุปตามมุมมองของผู้เขียน จิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) หมายถึง
ศาสตร์ทางจิตวิทยาที่ทำให้มนุษย์สามารถ
“มองเห็นโลกตามความเป็นจริง”
ควบคู่ไปกับการไม่ลดคุณค่าในตนเอง
มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการเจริญเติบโตของทั้งความเป็นอยู่และการเรียนรู้
ผ่านการเข้าใจศักยภาพที่แท้จริงของแต่บุคคล
(อรุณฉัตร, 2019)
สังเคราะห์และเรียบเรียงโดย
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ร่วมด้วย
นางสาววิภาพร อุ่นเจริญกุล
นางสาวกัญจน์ณัฏฐ์ แซ่อึ้ง
ภาพประกอบโดย
นายดิเรกฤทธิ์ พิมพ์สอน
เอกสารอ้างอิง
Jonathan Haidt. (2019(2006)). The Happiness Hypothesis: Finding Modern Truth in Ancient Wisdom; วิทยาศาสตร์แห่งความสุข: สำรวจความสุขและความหมายของชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์. แปลไทยโดย โตมร ศุขปรีชา. กรุงเทพฯ: SALT Publishing Co., Ltd.
Fredrickson, B. (2010(2011)). Positivity: Groundbreaking Research to Release Your Inner Optimist and Thrive. London: Oneworld Publications.
Seligman, M. E. (2011). Flourish: A visionary new understanding of happiness and well-being. Australia: A William Heinemann book. Published by Random House Australia Pty Ltd.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2542). หลักสูตรอารยชน. กรุงเทพฯ: วัดญาณเวศกวัน. พิมพ์ที่ เจริญมั่นคงการพิมพ์.
0 responses on "ความหมายของ จิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology)"