The Applied Positive Psychology Initiative

การ์ดเชื่อมใจ

“ ความรัก สายใจ สายใย คือสายสัมพันธ์ที่สำคัญ ในวันที่ชีวิตอาจเจออุปสรรค ความรักที่ปราศจากสายใจ สายใย สายสัมพันธ์ แทบจะไม่ช่วยในวันที่อุปสรรคมาทักทาย “

– ป้ามล  ทิชา ณ นคร –

เมื่อลูกไม่ใช่เด็กอีกต่อไป  ลูกเรียนจบชั้น ป.6 ก้าวขึ้นสู่ชั้น ม.1 ความต่างเพียงปีเดียวเท่านั้น แต่อารมณ์ ความคิด พฤติกรรม รวมถึงร่างกายของลูก เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  พ่อแม่ปรับตัวอย่างไร ?  รับมืออย่างไร ?  ร่วมมือกับใครได้บ้าง ?  การทำความรู้จักลูกที่โตขึ้นจึงจำเป็นอย่างมาก รวมถึงการส่งเสริมให้ลูกปรับตัวเปลี่ยนผ่าน สู่วัยรุ่นได้อย่างราบรื่น  ดูแลตนเองและมีส่วนร่วมกับผู้อื่นตามหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม เป็นภารกิจที่ครอบครัวและโรงเรียน ต้องร่วมมือกัน 

การ์ดเชื่อมใจ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วย คุณครูและผู้ปกครองให้ได้พบมุมมองใหม่ เชื่อมใจ เชื่อมความสัมพันธ์กับเด็กวัยเริ่มต้นเข้าสู่วัยรุ่น ให้สามารถร่วมแบ่งปันความคาดหวัง ความตั้งใจ ของนักเรียนและผู้ปกครอง ให้เข้าใจกันมากขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของคุณครูและผู้ปกครอง ในการค้นหาแนวทางเพื่อดูแลเด็กนักเรียน พร้อมทั้งเตรียมรับมือกับภาวะปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมของช่วงวัยนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็กและครอบครัว ที่สามารถส่งผลไปถึงชีวิตในอนาคตของเด็กๆ ต่อไปได้

โดยตลอดกระบวนการมุ่งให้เกิด 2 สิ่งในบรรยากาศภาพรวม ดังนี้

  • Open mind เพื่อให้ได้ยินเสียงของกันและกัน รู้จักชีวิตกันและกันมากขึ้น ไม่ตัดสินผู้อื่น
  • เคลื่อนขยับ Mindset  ครู ผู้ปกครอง ให้รับรู้และเข้าใจเด็กมากขึ้น  รับมือการเปลี่ยนแปลงของวัย  หนุนเสริมพฤติกรรมที่ดี สร้างแรงบันดาลใจ ให้เด็กสามารถพาตนเองไปถึงตามความคาดหวังของเด็กเองรวมถึงของผู้ปกครอง และคุณครูด้วย

กระบวนการและเนื้อหาของการ์ดแต่ละใบ ได้แนวคิดตั้งต้นมาจากคำตอบ ในการทำแบบสอบถามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง ที่มีนักเรียนหรือบุตรหลาน ที่อยู่ในวัย Preteen ขยับจากชั้น ป.6  ขึ้นมา ชั้น ม.1  จนถึงชั้น ม.2 และ ม.3 พบว่าผู้ปกครองของ อยากรู้จักลูกของตนเองมากขึ้น อยากเข้าใจลูก ในอารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนไป ในทุกด้านของลูก ทั้งอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรในการสื่อสารกับลูก และอยากรู้วิธีการแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับลูก

จากคำถาม   อยากรู้อะไรเกี่ยวกับ บุตรหลานในช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กเป็นวัยรุ่น

คำตอบเช่น :  “อารมณ์และความรู้สึกของเด็กวัยรุ่น”    “พฤติกรรม”    “อยากรู้ว่าอะไรที่เขาสนใจหรือให้ความสำคัญมากที่สุุุดในขณะนี้”   “อยากรู้ความคิดว่าตอนนี้ช่วงนี้เขาคิดอะไร อยากให้เราเป็นอย่างไรในสายตาเขา”  “อยากให้ลูกพูดคุยด้วยมากๆ จะได้สื่อสารและตามความรู้สึกนึกคิดเค้าได้”

นำความคิดเห็นเหล่านี้ มาคิดวิเคราะห์ ร่วมกับประสบการณ์การทำงานด้านเด็กและเยาวชน ของ ป้ามล ทิชา ณ นคร ซึ่งท่านเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาจัดทำเครื่องมือ การ์ดเชื่อมใจ  จึงทำให้เครื่องมือนี้ลงรายละเอียดชีวิตของเด็กนักเรียนรวมถึงผู้ปกครองได้ลึกมากขึ้น และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณครูผู้จัดกระบวนการในการดูแลส่งเสริมเด็กนักเรียน รวมถึง ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนที่จะได้มีโอกาสรู้จัก เปิดใจ เชื่อมสายใจ สายใย สายสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น มากยิ่งขึ้น

การ์ดเชื่อมใจ แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก  

มีกระบวนการตามโปรแกรม 3 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 45-60 นาที  ประกอบไปด้วย

1.เชื่อมใจเข้าหากัน  ใจลูก ใจพ่อใจแม่

1.1 มุมมองใหม่ วัย PreTeen : ชวนคุยถึงตัวตนความสนใจใหม่ๆ ของลูก  เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักลูกมากขึ้น

จึงเริ่มต้นจากการให้ลูกได้แสดงตัวตนในเรื่องง่ายๆ และมีคำถามที่ชวนคุยให้ได้รู้จักลูกมากขึ้น ในมุมทั่วๆ ไปของชีวิตวัยรุ่น ที่ความคิดความชอบแตกต่างจากวัยเด็ก ไปจนถึงบางอย่างที่อยู่ในใจ ที่อาจไม่มีโอกาสได้พูด  นอกจากคำถามชวนคุยก็มีข้อแนะนำเพื่อให้ใกล้ชิดและเปิดใจกันมากขึ้น  เช่น  ชวนพ่อแม่ดูหนัง เล่นเกมส์ให้พ่อแม่ดู เป็นการเชื่อมผู้ปกครองเข้าไปสู่โลกของเด็กมากขึ้น

1.2 พ่อแม่ล่ะว่าอย่างไร : ชวนคุยถึงเจตนา มุมมอง ความตั้งใจของพ่อแม่ และความคาดหวังที่มีต่อลูก เพื่อให้ลูกได้รับรู้และเข้าใจมากขึ้น

พ่อแม่นอกจากอยากรู้จักลูกแล้ว ยังคาดหวังและมีความตั้งใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับลูกด้วย ที่อยากจะให้ลูกเติบโต พัฒนาชีวิตไปอย่างดี  ตัวอย่างคำตอบจากแบบสอบถาม  “พยายามสอนให้ลูกหาเป้าหมายในชีวิตให้เจอ ให้เค้าคิดว่าที่ต้องเรียนไปเพื่ออะไร”   “แนะนำให้ลูกตั้งใจเรียน ไม่เอาเปรียบและอย่าให้ใครมาเอาเปรียบเรา มีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนๆ คบเพื่อนที่นิสัยดี มีน้ำใจเอื้ออาทร พากันทำสิ่งดีดีให้ตัวเองและสังคม”  

พ่อแม่เองก็อยากได้มีโอกาสสื่อสารกับลูกถึงเจตนาและความตั้งใจดี เช่นเดียวกัน จึงเป็นการ์ดโจทย์ที่แสดงถึงมุมมองภาพรวมต่างๆ ของผู้ปกครอง  พร้อมคำถามให้พ่อแม่ได้อธิบาย รวมถึงให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น เป็นการสร้างพื้นที่ให้ได้แลกเปลี่ยนกัน ฟังใจกันมากขึ้น ทำให้เห็นมุมมองของกันและกันมากขึ้น เพื่อหาจุดร่วมเดียวกันอย่างสร้างสรรค์ได้

2.แรงผลักภายในครอบครัว : สิ่งที่อาจทำให้ลูกเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี เพื่อให้พบสาเหตุและร่วมกันหาทางออกและหาทางป้องกัน 

ได้แนวคิดมาจากประสบการณ์การทำงานกับเด็กก้าวพลาดของป้ามล  ทำให้เห็นว่า จุดเริ่มต้นการก้าวพลาดมักมากจากปัจจัยสำคัญ คือ ครอบครัว และจากคำตอบของผู้ปกครองที่สะท้อนช่องว่างบางอย่างใครอบครัวที่เกิดขึ้น  เช่น  “ยังคงบังคับเหมือนเค้าเป็นเด็ก คิดว่าเค้ายังไม่มีความรับผิดชอบเท่าที่ควร”  “วัยรุ่นจะมีความเป็นตัวของตัวเองส่วนตัวเกินไป  บางอย่างไม่อยากให้ผู้ปกครองรับรู้”  “ปัญหาในบ้านคือถ้าผู้ปกครองไม่อยู่เด็กจะไม่มีระเบียบเลย ทั้งที่สอนทุกวัน แต่ด้วยความจำเป็นพ่อแม่ต้องทำงานอยู่ในเมือง การแบ่งเวลาเป็นเรื่องยากยิ่งนัก”  

การมาชวนคุย ชวนคิด ประเมินภาพความเป็นจริงในครอบครัว ทำให้เห็น Painpoint บางอย่าง เพื่อให้รู้เท่าทันและนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขได้ คำถามหลังการ์ดจึงเป็นการตั้งคำถามเพื่อรับฟังเหตุผล และร่วมกันหาทางออก พร้อม Tip สั้นๆ เพื่อช่วยในการพูดคุย มีแนวทางเบื้องต้น ไปคิดต่อยอดในเชิงบวกได้

3.เส้นทางต่อไปของวัยรุ่น  : ชวนมองสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ตามช่วงวัย สิ่งที่พ่อแม่เป็นห่วง เพื่อเตรียมรับมือและป้องกัน ด้วยการสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์

ได้แนวคิดมากจากปัจจัยภายนอก การทำงานกับเด็กก้าวพลาดของป้ามล เพราะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชีวิตเด็กไปถึงจุดเปลี่ยนที่ไม่พึงประสงค์ได้ รวมถึงคำตอบจากผู้ปกครองที่เป็นข้อกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรม สิ่งที่อยากรู้ให้เข้าใจเพื่อรับมือ เช่น  “เด็กติดเกมส์”  “เพศศึกษา”  “การมีเเฟน”  “ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอะไรนอกจากเวลาเล่นโทรศัพท์”  “เพื่อนและสังคมสำคัญมากสำหรับวัยรุ่นช่วงนี้”  “เขาจะสนใจโทรศัพท์มากกว่าพ่อแม่”   “ทำพฤติกรรมเลียนแบบ”  “เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ Social network systems มีผลการเข้าใช้งานที่ง่ายดายเกินไป บางเรื่องไม่เหมาะสมกับวัย ส่งผลให้ดำเนินชีวิตไม่ถูกต้อง”  การ์ดชุดที่ 3 จึงชวนมองสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ตามช่วงวัย สิ่งที่พ่อแม่เป็นห่วง เพื่อเตรียมรับมือและป้องกัน ด้วยการสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์ มีโจทย์คำถามให้ได้พูดคุยถึงประเด็นสาเหตุที่หยิบการ์ดใบนี้ เพื่อให้ได้คุยกันถึงความคิดเห็น และได้มีโอกาสบอกข้อเท็จจริงในมุมมองของผู้ปกครอง มี Tip เป็นแนวทางแนะนำเบื้องต้น  เพื่อจุดประกายผู้ปกครองในการเตรียมตั้งรับและหาทางรับมือต่อไปอย่างเข้าใจและเป็นเชิงบวก

สุดท้าย ทั้งกระบวนการ ย้ำเป้าหมายหลักคือการเชื่อมใจเข้าหากัน เข้าใจกันมากขึ้นทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง เกิดความร่วมมือกันอย่างบูรณาการของคุณครูและผู้ปกครองในการดูแลเด็กนักเรียนในการเติบโต ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นได้อย่างเข้าใจ เพื่อตั้งรับหรือผลักดันสิ่งต่างๆ ได้ดีมากขึ้น 

มีตัวอย่างรายละเอียดดังนี้

October 12, 2021

0 responses on "การ์ดเชื่อมใจ"

Leave a Message

Your email address will not be published. Required fields are marked *

LIFE EDUCATION (THAILAND) © ALL RIGHTS RESERVE 2019